X Rapid Group Health เทคนิคแจ้งข่าวกับผู้ป่วย เมื่อต้องมีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต้องทำอย่างไรบ้าง

เทคนิคแจ้งข่าวกับผู้ป่วย เมื่อต้องมีการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ต้องทำอย่างไรบ้าง

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นเรื่องที่ยาก และมีขั้นตอนในการดูแลเฉพาะด้านด้วย ทำให้ผู้ที่ดูแลผู้ป่วยจะต้องให้ความสำคัญ และใส่ใจผู้ป่วยให้มาก ๆ เพื่อที่จะทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยให้ดีได้ แต่ทั้งนี้การดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิตแล้ว นอกจากที่จะต้องดูแลให้ดี ก็จำเป็นที่จะต้องมีการแจ้งข่าว หรือแจ้งอาการป่วยให้กับผู้ป่วยได้ทราบด้วย แม้จะเป็นเรื่องที่ทำยากแต่ก็ต้องทำ แล้วการที่จะแจ้งอาการป่วยให้ผู้ป่วยได้รับทราบนั้น ควรทำอย่างไรบ้าง ในบทความนี้จะนำเอาเทคนิคการแจ้งข่าวกับผู้ป่วยมาแนะนำกัน 

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายกับเทคนิคการแจ้งข่าวกับผู้ป่วย ต้องทำอย่างไรบ้าง 

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย จำเป็นที่จะต้องแจ้งข่าวเกี่ยวกับอาการป่วยให้ผู้ป่วยได้ทราบด้วย เพราะนอกจากที่จะเป็นประโยชน์ต่อญาติในการดูแลผู้ป่วยแล้ว ยังเป็นการช่วยให้ญาติและผู้ป่วยสามารถทำความเข้าใจ และร่วมมือกันได้ง่ายมากขึ้น เพื่อให้พร้อมสำหรับการรักษา และการดูแลผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งวิธีการแจ้งข่าวให้ผู้ป่วยได้ทราบ ก็สามารถทำได้ดังนี้ 

1. ทำให้ผู้ช่วยเชื่อใจ โดยวิธีการนี้จะต้องให้ญาติคนที่ต้องทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยให้มากที่สุด และจะต้องทำให้ผู้ป่วยเกิดความเชื่อใจ และเกิดความรัก 

2. เลือกสถานที่ให้ดีก่อนพูดคุย ในการพูดคุยเพื่อที่จะแจ้งอาการกับผู้ป่วย จำเป็นที่จะต้องหาสถานที่พูดคุยที่เหมาะสม และอยู่ในบรรยากาศที่ดี รวมถึงควรจะเป็นพื้นที่ส่วนตัว เพื่อให้การพูดคุยง่ายขึ้น และผู้ป่วยจะได้เกิดความรู้สึกที่ผ่อนคลายมากขึ้นด้วย 

3. ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย โดยในการแจ้งข่าวเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยนั้น ควรใช้คำพูดที่เข้าใจได้ง่าย ๆ เลย เพื่อให้ผู้ป่วยไม่ต้องตีความเยอะ แต่จะต้องพูดด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวล และท่าทางที่เป็นจริงใจ เป็นมิตรกับผู้ป่วย 

4. บอกความจริงอย่างซื่อตรง การพูดคุยเรื่องอาการป่วยกับผู้ป่วย ควรเป็นการพูดความจริง และเป็นการแจ้งข่าวแบบซื่อตรง พร้อมกับการให้กำลังใจผู้ป่วย และบอกถึงวิธีการรักษาด้วย เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ป่วยมากที่สุด 

5. สังเกตอาการของผู้ป่วยในขณะที่แจ้งข่าวด้วย โดยในการแจ้งข่าวเรื่องอาการกับผู้ป่วย ควรที่จะพูดอย่างตั้งใจ และไม่เร่งรีบ พร้อมกับการที่จะต้องคอยสังเกตอาการของผู้ป่วยไปด้วย หากผู้ป่วยหมดสติหรือช็อกไปก็ให้รีบทำการปฐมพยาบาลทันที 

อย่างไรก็ตามในการพูดคุยและแจ้งข่าวกับผู้ป่วยนั้น ทางญาติและผู้ป่วยควรที่จะทำการพูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาการ, วิธีการรักษา หรือผลที่จะเกิดขึ้นตามมา เพื่อเป็นการช่วยให้สามารถวางแผนไปในทิศทางเดียวกัน และช่วยลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของญาติด้วยกันได้ ซึ่งหากว่ามีการพูดคุยกันได้ลงตัว ก็จะทำให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายนั้นง่ายมากยิ่งขึ้น